หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา    Services for foreign businessmen   งานที่ปรึกษา/ HR Consult    อัตราค่าบริการ    ติดต่อเรา 
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/01/2014
ปรับปรุง 14/09/2023
สถิติผู้เข้าชม 371,877
Page Views 530,415
สินค้าทั้งหมด 13
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 
บริการแนะนำ
หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
แนวทางการใช้อัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง

ผู้นำ เริ่มที่การกล้าตัดสินใจ และลงมือทำ (6) ความสำคัญในการพัฒนาความเป็น ผู้นำ

ผู้นำ เริ่มที่การกล้าตัดสินใจ และลงมือทำ (6) ความสำคัญในการพัฒนาความเป็น ผู้นำ

       บางท่านคิดว่า การเป็นผู้นำนั้นยากลำบาก การเป็นผู้ตามนั้นสบายกว่ากันเยอะ ซึ่งก็ไม่ผิด ขึ้นอยู่ว่าท่านวางแผนอนาคตของท่าน และเลือกทางเดินของชีวิตของท่านไว้อย่างไร การมีชีวิตอยู่ตามอัตภาพ พอกิน พอใช้ ก็ไม่ใช่ความผิดอะไร ก็อยู่กันได้  แต่ในควมเป็นจริงแล้ว ทุกคน มีคุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้นำอยู่ในตัวแล้วทั้งนั้น อยู่ที่จะเรียนรู้ ทุ่มเท และพัฒนาคุณสมบัตินั้นให้เด่นชัดขึ้นหรือไม่ต่างหาก เช่น การชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคู่คิดให้กับเพื่อนเวลาเพื่อนมีปัญหา มีงานอะไรก็อาสาเข้าร่วมด้วย เป็นต้น

       หลายคนถามว่า แล้วทำไมต้องมี ผู้นำ หรือ ทำไมต้องพัฒนาภาวะผู้นำ ลองมาดูเหตุผลกัน ดังนี้

1. องค์กรต้องการผู้นำ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว

       สมัยที่ผมเรียนปริญญาตรีเรื่อง วงจรเศรษฐกิจ (Economics Life Cycle) อาจารย์สอนว่าระบบเศรษฐกิจจะมีการขึ้นๆลงๆ เป็นเรื่องปกติ และมักจะมีวงจรเป็น 4 ปีขึ้น 4 ปีลง แต่ตอนผมเรียนปริญญาโท อาจารย์สอนว่าระบบเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไป แม้จะมีการขึ้นๆลงๆ เป็นเรื่องปกติ แต่วงจรปรับตัวเป็น 6 ปีขึ้น 6 ปีลง ในทุกวันนี้ จะหาใครมาคาดการณ์เศรษฐกิจว่าปีหน้าจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครจะฟันธงได้เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นจึงคาดการณ์เศรษฐกิจกัน ครั้งละ 3 เดือน 6 เดือน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก จึงต้องการผู้ที่สามารถชี้นำทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ควรจะเป็นไป

       ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งรุนแรงมากที่สุดตั้งแต่ยุคหลังสงความโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา องค์กรต่างๆกจึงมีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้าง ลดจำนวนพนักงาน ปรับหน้าที่การทำงาน ดังนั้นผู้บริหารในทุกระดับจึงมีภารกิจที่ต้องนำทีมงานของตนเองให้รอดพ้นจากอุปสรรค และไปบรรลุสู่ความสำเร็จ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในสภาวะนี้ การสร้างความเชื่อมั่นของ “คน” ให้ไปช่วยกันทำงานฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากไม่มีผู้นำ องค์กรก็จะอยู่ไม่รอด

      สมัยผมยังเป็นเด็ก จำได้ว่าคนรุ่นก่อนๆภูมิใจในประเทศไทยมาก เพราะเพิ่งจะผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มา ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี มาดูการพัฒนาประเทศของประเทศไทยพอผมโตเป็นเด็กประถม คุณครูสอนผมไว้ว่า รุ่นผมจะเป็นอนาคตของชาติ เพราะประเทศไทย (สมัยนั้น) กำลังแข่งขันการพัฒนาประเทศกับสิงคโปร์  เมื่อผมโตเป็นเด็กมัธยมคุณครูก็บอกว่า ไทยไม่แข่งกับสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ เรากำลังแข่งการพัฒนาประเทศกับมาเลเซีย

"ทุกวันนี้ เราก็ไม่แข่งกับมาเลเซียแล้ว เรากำลังแข่งการพัฒนาประเทศกับเวียดนาม"

       ผมว่าอีกไม่นาน อาจจะไม่เกิน 5 ปี เราก็อาจจะไม่แข่งกับเวียดนามอีก เพราะเวียดนามขุดพบบ่อน้ำมัน กำลังสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการส่งออก ซึ่งจะสำเร็จในอีก 3 ปี และกำลังจะสร้างรถไฟความเร็วสูง (หัวกระสุน) จากฮานอย ไปโฮจิมิน ซึ่งปกติถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อาจจะใช้เวลา 2-3 วัน จะร่นเวลาลงมาเหลือประมาณ 8 ชั่วโมง จะสร้างเสร็จในอีก 11 ปี เพราะระบบการศึกษาของเวียดนาม สอนการสร้างความเป็นผู้นำ ให้กับเด็กตั้งแต่ประถม ถึงมหาวิทยาลัย ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ถามตัวเอง ทุกวันๆ ละ 4 ข้อ ดังนี้

          1. วันนี้ คุณทำอะไรดีๆ ให้กับ ตัวเอง แล้วหรือยัง และถ้าทำแล้ว

          2. วันนี้ คุณทำอะไรดีๆ ให้กับ ครอบครัว ของคุณ แล้วหรือยัง และถ้าทำแล้ว

          3. วันนี้ คุณทำอะไรดีๆ ให้กับ ชุมชน ของคุณ แล้วหรือยัง และถ้าทำแล้ว

          4. วันนี้ คุณทำอะไรดีๆ ให้กับ ประเทศชาติ แล้วหรือยัง

หากปราศจากผู้นำที่ดี อนาคตขององค์กร และประเทศเรา จะไปแข่งกับใครได้บ้าง

2. สังคมต้องการผู้นำ เป็นผู้สร้างความสมานฉันท์

       ในสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ก็พลักดันให้สังคมก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดไปด้วย มีความเห็นที่แตกต่างกันมากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่ายกัน แต่ละฝ่ายต่างยึดมั่นในความคิดของตนเอง และผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเป็นหลัก ต้องมีผู้นำที่เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจได้ จึงจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

3. ในด้านของพนักงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เต็มที่ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

       ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เพื่อการอยู่ให้รอด ไม่ต้องตกงาน ดังคำกล่าวว่า หากไม่ขยันทำงานวันนี้ จะได้ขยันหางานพรุ่งนี้ พนักงานก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเอง เพื่อ (อย่างน้อยที่สุด) ให้เป็นคนที่ถูกเลือกให้ออกจากงานเป็นคนท้ายๆ

       เมื่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น และมีการขยายองค์กร พนักงานที่มีศักยภาพสูงก็จะได้รับการคัดเลือกมอบหมายให้รับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้นไป ซึ่งจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และฝึกฝน พัฒนาความรู้ความสามารถในอีกหลายๆ ด้าน และเมื่อมีความรู้ความสามารถสูง ผลตอบแทนก็จะมีสูงขึ้นไปด้วย

       ยกตัวอย่าง นักศึกษาจบใหม่ 2 คน จากคณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเดียวกัน ปีเดียวกัน ได้เกรดพอๆกัน ได้งานที่บริษัทเดียวกัน ได้เงินเดือนเท่ากัน สมมติว่า 12,000 บาท ชื่อ นาย ก และนาย ข  สิ้นปีมีการประเมินผลงาน ปรากฎว่า นาย ก ขยันกว่า และทำงานได้ดีกว่า นาย ข จึงได้รับเงินเดือนขึ้นมากกว่า 2 % สมมุติว่า นาย ก ได้เงินเดือนขึ้นทุกปี 12% ในขณะที่ นาย ข ได้เงินเดือนขึ้นทุกปี 10% และทำงานรวม 38 ปี (อายุ60 – 22ปี) จะได้ผลดังนี้

เงินเดือนสุดท้ายของ นาย ก = 890,155 บาท/เดือน
เงินเดือนสุดท้ายของ นาย ข = 448,852 บาท/เดือน

เงินเดือนสุดท้าย นาย ก มากกว่า นาย ข = 441,303 บาท/เดือน หรือ 95% เพียงเพิ่มความพยายามอีก 2%

       ยิ่งเข้าสู่ยุดการแข่งขันแบบไร้พรมแดน (Globalization) การแข่งขันก็จะยิ่งดุเดือดรุนแรงจากสินค้าของประเทศต่างๆที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย โดยไม่มีใครมาช่วยเหลือได้ เช่น สินค้าคุณภาพดีจากอเมริกา สินค้าดีไซด์สวยๆจากยุโรป สินค้าเทคโนโลยีระดับสูงจากญี่ปุ่น เกาหลี หรือสินค้าราคาถูกจากจีน หากไม่มีผู้นำช่วยพัฒนาศักภาพ “คน” ให้สูงขึ้น แล้วประเทศเราจะมีอะไรไปแข่งขันให้อยู่รอดได้ในเวทีโลกได้อย่างไร

ระดับในการพัฒนาของภาวะผู้นำ

       การสร้างภาวะผู้นำ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะสร้างได้ในชั่วข้าม คืน ดังคำกล่าวว่า กรุงโรมมิได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว การจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำนั้น ไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่มีทางลัด ไม่ใช่การท่องจำ จะเป็นการเรียนรู้ สะสมประสพการณ์แบบค่อยเป็นค่อยไป สะสมเพิ่มขึ้นทีละนิด ทีละอย่าง ซึ่งอาจจะแบ่งระดับการพัฒนาได้เป็น 5 ระดับ มีระดับในการพัฒนา ดังนี้

1. พนักงานทั่วไป (Ordinary Staff) ทำงานได้ตามที่ ที่รับมอบหมาย ตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง มาทำงาน และกลับบ้านตามเวลาที่กำหนด ไม่สร้างปัญหาให้ใคร หรือประเภทความผิดไม่มี ความดีไม่ปรากฎ แต่ก็ดีกว่าประเภท ขาดงานเป็นนิจ ลากิจประจำ หรือประเภทเบี้ยวงานได้เป็นเบี้ยว อู้งานได้เป็นอู้

2. พนักงานที่มีความสามารถสูง (Highly Capable Staff) เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ หรือวินัยการทำงานที่ดี บรรลุงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิผล ช่วยเพิ่มผลผลิต และสร้างประโยชน์ให้องค์กร

3. พนักงานที่มีความสามารถทำงานเป็นทีมได้ (Contributing Team Member) เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัวที่ดีแล้ว ยังสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นได้ สามารถรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น รวมถึงร่วมทำงานกับผู้อื่นที่มีความเห็น สไตล์การทำงานที่แตกต่าง เป็นทีมได้ ช่วยให้กลุ่มและทีมบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน และองค์กรได้

4. หัวหน้างาน หรือผู้จัดการที่มีความสามารถ (Competent Manager) เป็นผู้ที่สามารถบริหาร 4 Ms ของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำทีมไปบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรกำหนดได้

5. ผู้นำ (Leader) เป็นผู้ที่สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของหน่วยงาน จูงใจให้ทีมงาน (เกือบทุกคน) เกิดความมุ่งมั่น และทุ่มเท เพื่อเพื่อยกระดับความรู้ความสารถของทีมงาน และมาตรฐานของงาน ในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

วิธีพัฒนาภาวะผู้นำ

       เมื่อเห็นถึงประโยชน์และความจำเป็นในการสร้างภาวะผู้นำแล้ว มาดูว่าจะมีวิธีการในการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างไรบ้าง  โดยใช้หลักการ 4H คือ

       Heart  หัวใจ หมายถึง ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิตใจ ทัศคติ ความคิด ท่านคิดอย่างไร ท่านก็จะทำอย่างนั้น  ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ สร้างการเป็นผู้แสวงหา มิใช่เพราะผู้รอคอย

       Head  หัว หมายถึง การใช้สมอง หาความรู้ วิธีการในการพัฒนาตัวเอง พัฒนาความสามารถ มิใช่รอโชคช่วย

       Hand  มือ หมายถึง การลงมือทำ การปฏิบัติที่เป็นจริง จะทำให้ความรู้ที่มีอยู่ พัฒนาเป็นทักษะและความชำนาญ ไม่ใช่ความรู้แบบ นกแก้วนกขุนทอง พวกปากคาบคำภีร์ หรือพวกความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เกิดเป็นความเชี่ยวชาญ มิใช่รอโอกาสให้เกิดความสำเร็จ

       Health  สุขภาพ หมายถึง ต้องรักษาสุขภาพร่างกายด้วย เพราะการทุ่มเท เรียนรู้ ฝึกฝน ลงมือทำ สร้างภาวะผู้นำนั้นต้องใช้เวลา การรักษาสุขภาพในระยะยาวจึงเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ดังเช่นในภาพยนต์การสอนกังงฟู ต้องใช้เวลานานในการฝึกพื้นฐานของร่างการให้ดีก่อน จึงจะสามารถฝึกวิทยายุทธ์อื่นๆได้

กระบวนการ

       การสร้างเสริมความเป็นผู้นำ  ฝึกฝนได้ด้วยกระบวนการ KUSA (อ่านว่า กูซ่า) คือ

       Knowledge คือ หาความรู้ ว่า ผู้นำ คือ อะไร ควรมีคุณลักษณะอะไรบ้าง

       Understand คือ ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ว่า คุณลักษณะของผู้นำแต่ละข้อนั้น มีแนวความคิดอย่างไร เป็นอย่างไร เพื่ออะไร และทำไมต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำ

       Skill คือ นำความรู้ข้อใดข้อหนึ่ง ไปฝึกฝนเป็นประจำ จนเกิดเป็นทักษะ

       Attitude คือ ทัศนคติ หมายความว่า เมื่อท่านลงมือทำบ่อยๆเข้า ก็จะกลายเป็นความเคยชิน หรือนิสัย แล้วพัฒนาเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต Lifestyle ซึ่งจะทำให้ทัศนคติเป็นเช่นนั้นไปด้วย

วิธีการ

เทคนิค มี 10 ประการ ดังนี้

1. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม (learn and relearn) โดยการหาหนังสือที่เกี่ยวข้องมาอ่าน หรือเรียนรู้จาก Internet

2. เข้าร่วมสัมนา ฝึกอบรม โดย การบรรยาย กรณีตัวอย่าง การฝึกปฏิบัติ บทบาทสมมติ

3. สำรวจตัวเอง พิจารณาหาจุดดี เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำ

4. ตัดสินใจ ตั้งเป้าหมายชีวิตว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า ต้องการอะไร จะเป็นอะไร

5. ฝึกการเป็นนักฟัง พัฒนาการโดยการสนทนากับผู้นำที่ประสบความสำเร็จ

6. ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างจริงใจ

7. ประยุกต์ ทฤษฎี ลงสู่งานที่รับผิดชอบทีละจุด

8. วิเคราะห์ผลการพัฒนาตนเองว่า สิ่งที่ทำแล้วได้ผล สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผล

9. ลงมือทำทันที ปรับปรุงตนเองเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดทุกวัน

10. จ้างที่ปรึกษาส่วนตัว

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

บริษัท กรุงเทพฯ เอช อาร์ เอ็ม จำกัด  ที่ปรึกษาองค์กรด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล
เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการจัดการองค์กร พร้อมเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและพัฒนาทุนมนุษย์


49/122 หมู่บ้านฉัตรหลวง 14 ถนนเลียบคลองสาม ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

E-mail : md@bangkokhrm.com Tel. 08-5386-1503, 08-4671-8557 ID-Line : @bangkokhrm (มี@นำหน้า)

 
  
view